Misplaced Pages

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ - วิกิพีเดีย

Article snapshot taken from[REDACTED] with creative commons attribution-sharealike license. Give it a read and then ask your questions in the chat. We can research this topic together.
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป กรุณาปรับปรุงนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลทุติยภูมิหรือตติยภูมิ (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
เจ้าฟ้าชั้นโท
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง12 มกราคม พ.ศ. 2477 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2435 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2435 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2436
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสถาปนากระทรวง
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
ดำรงตำแหน่ง
2 กันยายน พ.ศ. 2444 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2450
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)
ถัดไปพระยาสุริยานุวัตร
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2437 – 2 กันยายน พ.ศ. 2442
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) (ในฐานะ สมุหพระกลาโหม)
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
เสนาบดีกระทรวงวัง
ดำรงตำแหน่ง
13 มิถุนายน พ.ศ. 2448 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
อภิรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 – พ.ศ. 2435
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้บัญชาการกรมยุทธยาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
มีนาคม พ.ศ. 2439 – เมษายน พ.ศ. 2442
เสนาบดีพระองค์เอง
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ถัดไปสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ประสูติ28 เมษายน พ.ศ. 2406
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
สิ้นพระชนม์10 มีนาคม พ.ศ. 2490 (83 ปี)
วังคลองเตยจังหวัดพระนคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ตำหนักปลายเนิน กรุงเทพมหานคร)
พระราชทานเพลิง19 เมษายน พ.ศ. 2493
พระเมรุ ท้องสนามหลวง
หม่อมหม่อมราชวงศ์ปลื้ม ศิริวงศ์
มาลัย เศวตามร์
หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์
พระนามเต็ม
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฏพงศนฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัตน์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร
พระนามเดิม
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ
พระบุตร9 องค์
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลจิตรพงศ์
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
ศาสนาเถรวาท
อาชีพทหาร นักการเมือง ศิลปิน นักวิชาการ
ลายพระอภิไธย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สยาม
แผนก/สังกัดกองทัพสยาม
ชั้นยศ พลเอก
บังคับบัญชารั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (28 เมษายน พ.ศ. 2406 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2490) เป็นพระราชวงศ์สยาม อภิรัฐมนตรี นายพล นักปราชญ์ และพหูสูต นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น "นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม"เนื่องจากพระปรีชาสามารถด้านงานช่างของพระองค์

พระประวัติ

ประสูติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 63 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน เบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 แรกประสูติมีสกุลยศเป็นพระองค์เจ้า และได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถโดยมีพระราชหัตถเลขา ดังนี้

"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามบุตรชายที่ประสูติจากหญิงแฉ่พรรณรายผู้มารดา ในวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนเบญจศกนั้นว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ สิงหนาม ขอจงมีความเจริญชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ ศุภสารสมบัติ สุวรรณหิรัญรัตนยศบริวารศฤงคารศักดานุภาพ ตระบะเดชพิเศษคุณสุนทรศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลพิบุลยผลทุกประการ เทอญ"

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมชนกนาถสวรรคต พระองค์มีพระชันษาเพียง 5 ปี แต่ทรงจำถึงตอนหนึ่งว่า "สมเด็จพระราชบิดาทรงประทับนั่งที่เก้าอี้ที่หมุนได้ ทรงฉลองพระองค์สีแดงสด"

ตราประจำพระองค์ของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ในปี พ.ศ. 2428 ได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระราชดำริว่า หม่อมเจ้าพรรณราย พระมารดาในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษนั้น นับเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนกในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดังนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษจึงมีพระอัยการ่วมกับพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ ขึ้นเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ พร้อมกันนี้ทรงสถาปนาพระเชษฐภคินีในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ ขึ้นเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา ด้วย

รับราชการ

พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2430

หลังจากที่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ผู้บัญชาการทหารเรือ จนกระทั่งได้รับพระราชทานพระยศเป็น พลโท เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศที่ "กรมหลวง" ได้ กอปรกับการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งเป็นพระโสทรานุชา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงษ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2448

เมื่อ พ.ศ. 2452 พระองค์ประชวรด้วยโรคพระหทัยโตขณะที่ยังทรงรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ทรงขอ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ด้วยพระโรคที่พระองค์เป็นอยู่นั้นไม่เอื้ออำนวยให้พระองค์ทรงสามารถรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ได้ แต่พระองค์ก็ยังคงรับราชการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงออกแบบงานต่าง ๆ ตามพระราชประสงค์ เช่น พระโกศพระบรมอัฐิและพระวิมานทองคำลงยาราชาวดีสำหรับประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการเลื่อนกรมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงษ์ ขึ้นเป็นกรมพระ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฏพงศ์นฤบดินทร ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรราชปิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นอภิรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475

วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรมีพระราชโองการให้เลื่อนเป็นกรมพระยา มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ มหามกุฎพงศนฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธิวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัตน์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร ทรงศักดินา 50000

สิ้นพระชนม์

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานศิลปะและวิทยาการจนพระกำลังพระปัญญาเสื่อมลงทุกที ด้วยทรงพระชราด้วยโรคภัยเบียดเบียน คือ โรคพระหทัยโต หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคเส้นพระโลหิตแข็ง วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2490 จึงสิ้นพระชนม์โดยสงบ ขณะมีพระชันษาได้ 83 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุด และเป็นพระองค์เดียวที่มีพระชนม์ชีพมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนักมีกำหนด 15 วัน และพระราชทานพระโกศทองใหญ่ ประดับพุ่มเฟื่อง แทนพระโกศทองน้อยที่ทรงพระศพอยู่แต่เดิม เป็นการเพิ่มพระเกียรติยศขึ้นเป็นพิเศษ โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยใช้พระเมรุมาศองค์เดียวกับพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระกรณียกิจ

ด้านราชการ

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีหลายกระทรวง ประกอบไปด้วย กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวัง ทั้งยังดำรงตำแหน่งองคมนตรีและรัฐมนตรีสภา และสมาชิกสภาการคลัง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร และพระองค์ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการพระราชวงศ์ มีหน้าที่สนองพระเดชพระคุณในพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชวงศ์พระองค์ใดที่มีกิจที่ไม่ต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาก็ให้ติดต่อกราบบังคมทูลต่อพระองค์แทน นอกจากนี้ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จยังต่างประเทศ พระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ด้านศิลปกรรม

งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือ แบบพระเมรุ โดยตรัสว่า "เป็นงานที่ทำขึ้นใช้ชั่วคราวแล้วรื้อทิ้งไป เป็นโอกาสได้ทดลองใช้ปัญญาความคิดแผลงได้เต็มที่ จะผิดพลาดไปบ้างก็ไม่สู้กระไร ระวังเพียงอย่างเดียวคือเรื่องทุนเท่านั้น"

ด้านสถาปัตยกรรม

พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
อาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
  • การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442
  • การออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 121 (พ.ศ. 2445) หรือ ร.ศ. 121

งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่พระองค์ทรงพิถีพิถันอย่างมาก เพราะตรัสว่า "ต้องระวังเพราะสร้างขึ้นก็เพื่อความพอใจ ความเพลิดเพลินตา ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่ออยากจะรื้อทิ้ง ทุนรอนที่เสียไปก็ใช่จะเอาคืนมาได้ ผลที่สุดก็ต้องทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์สำหรับขายความอาย"

ด้านภาพจิตรกรรม

ภาพเขียน
  • ภาพเขียนสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนรถพระอาทิตย์ที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน)
  • ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม
  • ภาพแบบพัดต่าง ๆ

ฯลฯ

ด้านออกแบบ

ด้านวรรณกรรม

"พระสุริโยทัยขาดคอช้าง" จิตรกรรมประกอบโคลงพระราชพงศาวดาร ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น โคลงประกอบภาพจิตรกรรมภาพพระราชพงศาวดาร โคลงประกอบเรื่องรามเกียรติ์ ทรงพระนิพนธ์เมื่องานฉลองพระนครครบรอบร้อยปี, ลายพระหัตถ์โต้ตอบประทานบุคคลต่าง ๆ เช่น จดหมายเวรโต้ตอบกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลายพระหัตถ์ประทานความรู้ในลักษณะจดหมายโต้ตอบพระสารประเสริฐและพระยาอนุมานราชธน เรื่องภาษาและประเพณี ลายพระหัตถ์โต้ตอบเหล่านี้ เป็นเหมือนคลังความรู้สำหรับผู้สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าทั่วไป

ด้านดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์

ทรงสนพระทัยทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล โดยเฉพาะดนตรีไทยนั้นทรงฝึกฝนมาแต่พระเยาว์ ทรงถนัดเล่นปี่พาทย์และระนาดมากกว่าเครื่องดนตรีอื่น ๆ

เพลงพระนิพนธ์
  1. เพลงสรรเสริญพระบารมี (คำร้อง)
  2. เพลงเขมรไทรโยค
  3. เพลงตับ เช่น ตับแม่ศรีทรงเครื่อง ตับเรื่องขอมดำดิน

ด้านบทละคร

ทรงนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ไว้หลายเรื่อง เช่น

  1. สังข์ทอง ตอนทิ้งพวงมาลัย ตีคลี และตอนถอดรูป
  2. คาวี ตอนเผาพระขรรค์ ชุบตัว และตอนหึง
  3. อิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ไหว้พระ และตอนบวงสรวง
  4. รามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา

พระโอรสและพระธิดา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลจิตรพงศ์ มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมราชวงศ์ปลื้ม (ราชสกุลเดิม: ศิริวงศ์) พระธิดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นสะใภ้หลวง
  2. หม่อมมาลัย (สกุลเดิม: เศวตามร์) ธิดาพระสาครสมบัติ (เผือก เศวตามร์)
  3. หม่อมราชวงศ์โต (ราชสกุลเดิม: งอนรถ) ธิดาในหม่อมเจ้าแดง งอนรถ กับหม่อมวัน งอนรถ ณ อยุธยา

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 9 พระองค์ เป็นชาย 5 พระองค์ และหญิง 4 พระองค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร
(ท่านหญิงเอื้อย)
หม่อมราชวงศ์ปลื้ม 6 มกราคม พ.ศ. 2433 29 ธันวาคม พ.ศ. 2459
2. หม่อมเจ้าอ้าย
(ท่านชายอ้าย)
ที่ 1 ในหม่อมมาลัย ไม่ทราบปี 5 กันยายน พ.ศ. 2446
3. หม่อมเจ้าเจริญใจ
(ท่านชายยี่)
ที่ 2 ในหม่อมมาลัย 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 หม่อมอ่อน
4. หม่อมเจ้าสาม
(ท่านชายสาม)
ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์โต พ.ศ. 2447 พ.ศ. 2447
5. หม่อมเจ้าหญิงประโลมจิตร ไชยันต์
(ท่านหญิงอี่)
ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์โต 8 มีนาคม พ.ศ. 2448 31 ตุลาคม พ.ศ. 2513 หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์
6. หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร
(ท่านหญิงอาม)
ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์โต 26 กันยายน พ.ศ. 2451 6 กันยายน พ.ศ. 2548
7. หม่อมเจ้ายาใจ
(ท่านชายไส)
ที่ 4 ในหม่อมราชวงศ์โต 28 ธันวาคม พ.ศ. 2453 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 หม่อมจักลิน (ดูบัวส์)
8. หม่อมเจ้าเพลารถ
(ท่านชายงั่ว)
ที่ 5 ในหม่อมราชวงศ์โต 3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 หม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ (ดิศกุล)
9. หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา
(ท่านหญิงไอ)
ที่ 6 ในหม่อมราชวงศ์โต 11 ธันวาคม พ.ศ. 2459 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระยศ

พลเอก นายกองตรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
ชั้นยศ พลเอก

พระยศทหาร

  • พ.ศ. 2431 นายพลตรี
  • 20 กันยายน พ.ศ. 2444 นายพลโท
  • 10 กันยายน พ.ศ. 2466 นายพลเอก

พระยศพลเรือน

  • 22 กันยายน พ.ศ. 2455 - มหาเสวกเอก

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพะยะค่ะ/เพคะ
  • 28 เมษายน พ.ศ. 2406 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2428 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2428 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2430 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
  • 18 ธันวาคม พ.ศ. 2430 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 : พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฏพงศ์นฤบดินทร ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรราชปิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2490 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฏพงศนฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัตน์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  อิตาลี:
    • พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏอิตาลี ชั้นที่ 1

พระสมัญญานาม

  • พระบิดาช่างศิลป์แห่งกรุงสยาม และ นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม
  • พระบิดาทางด้านสถาปัตยกรรมไทย

การระลึก

วันที่ 28 เมษายนเป็นวันครบรอบวันประสูติของพระองค์ ทุกปีจะมีงาน "วันนริศ" ณ ตำหนักปลายเนิน คลองเตย มีการแสดงละคร การบรรเลงเพลงพระนิพนธ์ การตั้งแสดงงานฝีพระหัตถ์บางชิ้น และการมอบ "ทุนนริศรานุวัดติวงศ์" แก่นักศึกษาในสาขาวิชาศิลปะ

เนื่องในวาระฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2506 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำปี พ.ศ. 2506 นับเป็นบุคคลไทยคนที่ 2 ที่ได้รับการยกย่องดังกล่าว

พงศาวลี

พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
                 
 16. (=22.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
     
 8. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
 
        
 17. (=23.) พระอัครชายา (หยก)
 
     
 4. (=24.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
 
           
 18. ทอง ณ บางช้าง
 
     
 9. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี 
 
        
 19. สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี
 
     
 2. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
 
              
 20. เศรษฐีจีนฮกเกี้ยนแซ่ตัน
 
     
 10. เงิน แซ่ตัน 
 
        
 21. น้องสาวของท่านผู้หญิงชำนาญบริรักษ์ (น้อย)
 
     
 5. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี 
 
           
 22. (=16.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
     
 11. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ 
 
        
 23. (=17.) พระอัครชายา (หยก)
 
     
 1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 
 
                 
 24. (=4.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
     
 12. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 
 
        
 25. สมเด็จพระศรีสุลาลัย
 
     
 6. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ 
 
           
 26. พระอักษรสมบัติ (หม่อมทับ)
 
     
 13. เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3 
 
        
 27. ผ่อง ณ พัทลุง
 
     
 3. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย 
 
              
 14. จีนก๊วง แซ่จิ๋ว 
 
        
 7. หม่อมกิ่ม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา 
 
           
 15. แตง แซ่ลี้ 
 
        

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. พระราชกฤษฎีกา ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา, 11 มกราคม 2476, เล่ม 50, หน้า 838, สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561
  2. ↑ นับตามปีปฏิทินสากล
  3. Silpakorn Channel. "Documentary of Prince Naris Official" (Video, subtitled). YouTube (ภาษาไทย และ อังกฤษ). Silpakorn University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-04-25.
  4. จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งกรม, เล่ม ๑, ตอน ๖๕, ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘, หน้า ๕๖๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, คำประกาศตั้งเจ้าฟ้ากรมขุน (พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัติยกัลยา และพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ) เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 4, ตอน 37, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2430, หน้า 293
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  8. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  9. ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งต่าง ๆ
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๒๒, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘, หน้า ๗๓๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๓๐, ตอน ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๓๒๙
  12. "พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2618. 28 พฤศจิกายน 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลิกอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 2618. 17 กรกฎาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยา, เล่ม ๖๓, ตอนที่ ๑ ก, ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙, หน้า ๕-๘
  15. "ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคาร ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๐ กำหนดการ พระราชกุศลทักษิณานุสรณ์พระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๙๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (13 ง): 491. 18 มีนาคม 2490. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "กำหนดการ ที่ ๗/๒๔๙๓ พระราชทานเพลิงพระศพจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระศพพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พุทธศักราช ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (21 ง): 1525, 1540–1550. 11 เมษายน 2493. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. การดำรงตำแหน่งเสนาบดี
  18. ดำรงตำแหน่งกระทรวงโยธาธิการ
  19. ดำรงตำแหน่งกระทรวงต่างๆ
  20. ดำรงตำแหน่งองคมนตรีและรัฐมนตรี
  21. ประกาศตั้งสมาชิกสภาการคลัง
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้กำกับการพระราชวงศ์(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์), เล่ม ๔๔, ตอน ๐ ก, ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๒๓๘
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๐, ตอน ๐ ก, ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖, หน้า ๘๓๘
  24. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  25. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  26. พระราชทานยศทหารบก
  27. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการในกระทรวงวัง เล่ม 29 หน้า 1405 วันที่ 22 กันยายน 2455
  28. ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เก็บถาวร 2019-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กองทัพบก
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๑, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๓๖๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๑๑๒
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๗๖๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๒๒
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๓, ๒๑ มกราคม ๒๔๕๙
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๗๐, ๗ มีนาคม ๒๔๖๘
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๙ หน้า ๔๓๔, ๒๔ ธันวาคม ๑๑๒
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๙๒, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
  38. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๖, ๗ มกราคม ๑๑๒
  39. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  40. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  41. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๕
  42. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  43. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  44. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  45. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  46. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๘๕, ๒๘ พฤศจิกายน ๑๒๖
  47. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๐, ๖ มีนาคม ๑๒๘
  48. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๕ หน้า ๓๕, ๑ พฤษภาคม ๑๑๑
  49. คนและเหตุการณ์ของไทยที่ยูเนสโกยกย่อง
  50. พระบิดาช่างศิลป์แห่งกรุงสยาม
  51. "นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2018-07-13.
  52. พระบิดาทางด้านสถาปัตยกรรมไทย
  53. การเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ จากเว็บไซต์ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 73-74. ISBN 978-974-417-594-6
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
(21 มีนาคม พ.ศ. 2435 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์
(พุ่ม ศรีไชยันต์)
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2442)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
(27 มีนาคม พ.ศ. 2441 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2442)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
(8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(12 มกราคม พ.ศ. 2476 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2477)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
รายพระนามและชื่อชาวไทยที่ได้รับการฉลองวาระครบรอบโดยองค์การยูเนสโก
พระภิกษุ
พระมหากษัตริย์
พระบรมวงศานุวงศ์
ราชนิกุล
สามัญชน
ดูเพิ่ม
สถานีย่อย
มรดกโลกในไทย
เสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย
สมุหพระกลาโหม
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังของไทย
เสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ผู้บัญชาการทหารบกไทย
เจ้ากรมทหารบก

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ · พระยาสุรศักดิ์มนตรี

เจ้ากรมยุทธนาธิการ

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช · พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต · สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร

ผู้บัญชาการทหารบก

พระยาพหลพลพยุหเสนา · หลวงพิบูลสงคราม · พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต · อดุล อดุลเดชจรัส · ผิน ชุณหะวัณ · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · กฤษณ์ สีวะรา · บุญชัย บำรุงพงศ์ · เสริม ณ นคร · เปรม ติณสูลานนท์ · ประยุทธ จารุมณี · อาทิตย์ กำลังเอก · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุจินดา คราประยูร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ · เชษฐา ฐานะจาโร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · สนธิ บุญยรัตกลิน · อนุพงษ์ เผ่าจินดา · ประยุทธ์ จันทร์โอชา · อุดมเดช สีตบุตร · ธีรชัย นาควานิช · เฉลิมชัย สิทธิสาท · อภิรัชต์ คงสมพงษ์ · ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ · เจริญชัย หินเธาว์· พนา แคล้วปลอดทุกข์

ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
ทหารเรือวังหน้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว · กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสัญลักษณ์กองทัพเรือ
ทหารเรือวังหลวงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ · เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์

ทหารเรือ
(2430-33)
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ · พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · พระยาชลยุทธโยธินทร์ · สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช · สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
กระทรวงทหารเรือ
(2433-75)
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช · สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา · สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต · พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ · พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
กองทัพเรือ
(2475–ปัจจุบัน)
พระยาปรีชาชลยุทธ · พระยาวิชิตชลธี · สินธุ์ กมลนาวิน · พระยาวิจารณจักรกิจ · หลวงพลสินธวาณัติก์ · หลวงยุทธศาสตร์โกศล · หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ · สวัสดิ์ ภูติอนันต์ · หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร · จรูญ เฉลิมเตียรณ · ถวิล รายนานนท์ · กมล สีตกะลิน · เฉิดชาย ถมยา · สงัด ชลออยู่ · อมร ศิริกายะ · กวี สิงหะ · สมุทร์ สหนาวิน · สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์ · ประพัฒน์ จันทวิรัช · นิพนธ์ ศิริธร · ธาดา ดิษฐบรรจง · ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ · วิเชษฐ การุณยวนิช · ประเจตน์ ศิริเดช · วิจิตร ชำนาญการณ์ · สุวัชชัย เกษมศุข · ธีระ ห้าวเจริญ · ประเสริฐ บุญทรง · ทวีศักดิ์ โสมาภา · ชุมพล ปัจจุสานนท์ · สามภพ อัมระปาล · สถิรพันธุ์ เกยานนท์ · กำธร พุ่มหิรัญ · สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ · ณรงค์ พิพัฒนาศัย · ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ · ณะ อารีนิจ · นริส ประทุมสุวรรณ · ลือชัย รุดดิษฐ์ · ชาติชาย ศรีวรขาน · สมประสงค์ นิลสมัย · เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ · อะดุง พันธุ์เอี่ยม · จิรพล ว่องวิทย์
ต้นราชสกุลในรัชกาลที่ 4
ราชสกุลกมลาศน์พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรรค์
ราชสกุลกฤดากรพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร
ราชสกุลเกษมศรีพระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค
ราชสกุลเกษมสันต์พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์
ราชสกุลคัคณางค์พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล
ราชสกุลจักรพันธุ์เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
ราชสกุลจันทรทัตพระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร
ราชสกุลจิตรพงศ์พระองค์เจ้าจิตรเจริญ
ราชสกุลชยางกูรพระองค์เจ้าไชยานุชิต
ราชสกุลชุมพลพระองค์เจ้าชุมพลสมโภช
ราชสกุลไชยันต์พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
ราชสกุลดิศกุลพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
ราชสกุลทวีวงศ์พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
ราชสกุลทองแถมพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์
ราชสกุลทองใหญ่พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่
ราชสกุลเทวกุลพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์
ราชสกุลนพวงศ์พระองค์เจ้านพวงศ์
ราชสกุลภาณุพันธุ์เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
ราชสกุลวรวรรณพระองค์เจ้าวรวรรณากร
ราชสกุลวัฒนวงศ์พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์
ราชสกุลศรีธวัชพระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย
ราชสกุลศุขสวัสดิพระองค์เจ้าศุขสวัสดี
ราชสกุลโศภางค์พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
ราชสกุลสวัสดิกุลพระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ
ราชสกุลสวัสดิวัตน์พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
ราชสกุลสุประดิษฐ์พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์
ราชสกุลโสณกุลพระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
ต้นราชสกุลใน
รัชกาลที่ 1
รัชกาลที่ 2
รัชกาลที่ 3
รัชกาลที่ 4
รัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 7
รัชกาลที่ 9
พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 ที่ได้ทรงกรม
พระราชโอรส

กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรกรมขุนพินิตประชานาถกรมพระจักรพรรดิพงษ์กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชกรมพระนเรศรวรฤทธิ์กรมหลวงพิชิตปรีชากรกรมหลวงอดิศรอุดมเดชกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติกรมขุนศิริธัชสังกาศกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการกรมพระยาวชิรญาณวโรรสกรมพระสมมตอมรพันธุ์กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชากรมหมื่นพงษาดิศรมหิปกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์กรมพระยาดำรงราชานุภาพกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

พระราชธิดา

กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐกรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์กรมขุนขัตติยกัลยากรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี

เจ้าต่างกรม ใน รัชกาลที่ 1รัชกาลที่ 2รัชกาลที่ 3รัชกาลที่ 4รัชกาลที่ 5รัชกาลที่ 9วังหน้าและวังหลัง
การเฉลิมพระยศเจ้านายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระ /
กรมสมเด็จพระ
กรมพระยา
กรมพระ
กรมหลวง
กรมขุน
กรมหมื่น
  • = สืบราชสมบัติ
  • = สยามมกุฎราชกุมาร
  • * = กรมพระราชวังบวร
  • ตัวเอียง = ฝ่ายใน
  • ตัวหนา = ยังทรงพระชนม์
  • † = หลังสิ้นพระชนม์
  • = ถอดจากฐานันดรศักดิ์
พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
รัชกาลที่ 1
รัชกาลที่ 2
รัชกาลที่ 3
รัชกาลที่ 4
รัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 6ไม่มีพระราชโอรส
รัชกาลที่ 7ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา
รัชกาลที่ 8ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา
รัชกาลที่ 9เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ()^ ()*
รัชกาลที่ 10
()* สืบราชสมบัติ
** กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
()^ สยามมกุฎราชกุมาร
ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์
หมวดหมู่:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เพิ่มหัวข้อ